พระคัมภีร์โรคนิทาน
(อหํ) อันว่าข้า (ชิวกโกมารพัจ์โจ) ผู้มีนามโกมารพัจแพทย์ (อภิวัน์ทิต๎วา) ถวายนมัสการแล้ว (พุท์ธคุณํ) ซึ่งคุณแก้ว ๓ ประการ มีพระพุทธรัตนะเปนต้น (เสฏ์ฐํ) ประเสริฐโดยวิริยะยิ่งนัก (เทวิน์ทํ) ย่อมเปนที่นมัสการของเทพยดาทั้งหลาย (กิต์ตยิส์สามิ) จักตกแต่งไว้ (คัน์ถํ) ซึ่งคัมภีร์แพทย์ (โรคนิทานํ นาม) ชื่อว่าโรคนิทาน (ปมุขํ) เฉภาะภักตร (อิสีสิท์ธิโน) แห่งท่านมีนามชื่อว่าฤๅษีสิทธิดาบศ (ปติฏ์ฐิตํ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง (โลกานํ) แก่สัตวโลกทั้งหลาย (อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรนะ) ด้วยประการดังนี้
มีวาระพระบาฬีในคัมภีร์พระบรมรรถธรรมนั้น ว่าด้วยคนจะถึงความมรณะสิ้นอายุนั้น เทวทูตในธาตุทั้ง ๔ ก็มีพรรณสำแดงออกให้แจ้งปรากฎโดยมโนทวารอินทรีย์ประสาท ธาตุอันใดจะขาดจะหย่อน จะพิการอันตรธานประการใดๆ ก็ดี ก็แจ้งอยู่ในพระคัมภีร์มรณะญาณสูตรนั้นแล้ว แต่ว่ามาทั้งนี้อาไศรยเปนหลักเปนประธานที่มรณะด้วยโบราณโรค ฤๅมรณะด้วยปัจจุบันโรคฤๅประจุบันกรรมนั้นก็มีอยู่ต่างๆ ถึงดังนั้นก็จริง เทวทูตมหัสจรรย์ก็หากสำแดงอยู่ แต่ผู้จะหยั่งรู้หยั่งเห็นเปนอันยากนักหนา ท่านโกมารพัจแพทย์ผู้ประเสริฐ จึงมีนิคมบทลงไว้ในคัมภีร์โรคนิทานว่ามนุษทั้งหลาย ถึงความมรณะด้วยประจุบันโรคนิคมนั้น คือ ปักกะมิกาพาธ ท่านทุบถองโบยรันบอบช้ำ แลต้องราชอาญาของพระมหากระษัตริย์ ให้ประหารชีวิตเสียด้วยหอกดาบปืนไฟก็ตายดุจเดียวกัน แต่ว่าโดยเร็วโดยด่วน มิได้ตายโดยปรกติ มิได้ตายโดยลำดับขันธ์ ลำดับชวนะธาตุทั้ง ๔ ไม่ได้ล่วงเปนลำดับกันเลย อันบุทคลตายโดยกำหนดสิ้นอายุปริโยสาน เปนปรกตินั้น ธาตุทั้ง ๔ ก็อันตรธานสูญหายเปนลำดับกันไป คือธาตุดิน ๒๐ ธาตุน้ำ ๑๒ ธาตุลม ๖ ธาตุไฟ ๔ เมื่อจะอันตรธานนั้น หาสูญพร้อมกันทีเดียวทั้ง ๔ ธาตุไม่ ย่อมสูญไปขาดไปแต่ทีละ ๒ สิ่ง ๓ สิ่ง ๔ สิ่ง ๕ สิ่งก็มี บางทีธาตุดินขาดก่อนธาตุน้ำ ขาดก่อนธาตุลม ขาดก่อนธาตุไฟ แลเมื่อจะสิ้นอายุดับสูญนั้น ปถวีธาตุ ๒๐ ขาดไป ๑๙ ยังหฤไทย ๑ อาโปธาตุน้ำ ๑๒ ขาดไป ๑๑ ยังแต่น้ำลาย ๑ วาโยธาตุลม ๖ ขาดไป ๕ ยังเหลือแต่ลมหายใจเข้าออก ๑ เตโชธาตุไฟ ๔ ขาดไป ๓ ยังเหลือแต่ไฟสำหรับเผาให้กายอุ่น ๑ ถ้าธาตุทั้งหลายสิ้นสูญไปดังกล่าวมานี้อาการตัดทีเดียว แพทย์ผู้จะเยียวยาต่อไปไม่ได้เลย ถ้าธาตุทั้ง ๔ ขาดหย่อนไปแต่ละสิ่งสองสิ่ง สามสิ่งสี่สิ่งดังนั้น ก็ยังจะพยาบาลได้อยู่ ให้ดูอันจะกล่าวไปในข้างน่าโน้น อันลักษณธาตุจะกำเริบพิการ พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ในคัมภีร์แพทย์มีฤดู ๔ จัดออกไว้ในฤดูหนึ่ง ๓ เดือน เดือน ๕, ๖, ๗, ทั้ง ๓ เดือนนี้ ว่าด้วยเตโชธาตุอันชื่อว่าสันตัปปัคคีอันพิการ ให้เย็นในอกกินอาหารพลันอิ่ม มักให้จุกเสียดขัดอกอาหารพลันแหลกมักอยากบ่อยๆ จึงให้เกิดลม ๖ จำพวกๆ หนึ่งชื่ออุตะรันตะ พัดแต่สะดือถึงลำฅอ จำพวกหนึ่งชื่อปัตตะรันตะ ให้ขัดแต่อกถึงลำฅอ จำพวกหนึ่งชื่ออัสวาตะให้ขัดจมูก จำพวกหนึ่งชื่อปรามาศให้หายใจขัดอก จำพวกหนึ่งชื่ออนุวาตะคือหายใจขาดไป คือว่าลมจับนิ่งไป จำพวกหนึ่งชื่อมหาสดม แลลม ๖ จำพวกนี้เกิดเพื่อเตโชธาตุพิการแพทย์พึงรู้เถิด ถ้าจะแก้ท่านให้เอายานี้ประกอบ
ยาชื่อกาลาทิจร เอาผลเอ็น ๑ ลำพัน ๑ โกฐสอ ๑ โกฐพุงปลา ๑ ดีปลี ๑ ขิง ๑ แห้วหมู ๑ เปลือกโมกมัน ๑ ผลผักชี ๑ อบเชย ๑ เถาสะค้าน ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค ตำเปนผลละลายน้ำร้อนกิน แก้เตโชธาตุพิการ
เดือน ๘, ๙, ๑๐, ทั้ง ๓ เดือนนี้ คือวาโยธาตุอันชื่อว่าชิระนัคคีพิการ ให้ผอมเหลืองให้ครั่นตัวให้เมื่อยทุกข้อทุกลำทั่วสรรพางค์กาย ให้แดกขึ้นแดกลงให้ลั่นโครกๆ มักให้หนาวให้เรอให้วิงเวียนหน้าตา ให้หูหนักให้ร้อนในอก มักให้รันทดรันทวยกาย ให้หายใจสั้น ให้เหม็นปากให้หวานปากตัวเอง ให้โลหิตออกจากปากจากจมูกจากหูกินอาหารไม่รู้จักรส (คือวาโยธาตุพิการ) ถ้าจะแก้ให้ประกอบยานี้
ยาชื่อชิระนัคคีจร ท่านให้เอาดีปลี ๑ รากแฝกหอม ๑ พริกไทย ๑ เปราะหอม ๑ ว่านน้ำ ๑ แห้วหมู ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค ใส่รากกะเทียมเท่ายาทั้งหลาย ทำเปนจุณละลายน้ำร้อนกินแก้วาโยธาตุพิการต่างๆ
เดือน ๑๑, ๑๒, ๑, ทั้ง ๓ เดือนนี้ กินผักแลอาหารผิดสำแลง อาโปธาตุ (คือดีพิการ) มักขึ้งโกรธมักสดุ้งใจ (เสมหะพิการ) กินอาหารไม่รู้จักรส (หนองพิการ) มักให้เปนหืดไอ (โลหิตพิการ) มักให้คลั่งเพ้อพกให้ร้อน (เหงื่อพิการ) มักให้เชื่อมซึม (มันข้นพิการ) มักให้ตัวชาสากไป (น้ำตาพิการ) มักให้ปวดสีสะเจ็บตา (มันเหลวพิการ) มักให้บวมมือบวมเท้าเปนน้ำเหลืองตกมักให้ผอมแห้งไป (น้ำลายพิการ) มักให้เปนไข้มักให้คอแห้งฟันแห้ง (น้ำมูกพิการ) มักให้ปวดสีสะ (ไขข้อพิการ) มักให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก (มูตร์พิการ) ให้ปัสสาวะแดง ขัดปัสสาวะๆ เปนโลหิตปวดเจ็บเนืองๆ แลธาตุน้ำทั้งนี้ประมวณ เข้าด้วยกันทั้ง ๑๒ จำพวกนั้น จึงเรียกว่าธาตุพิการ แพทย์พึงรู้เถิด ถ้าจะแก้ให้ประกอบยานี้
เอารากเจตมูลเพลิง ๑ โกฐสอ ๑ ผลผักชี ๑ ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ เถาสะค้าน ๑ แห้วหมู ๑ กกลังกา ๑ รากขัดมอน ๑ เปลือกโมกมัน ๑ จันทน์ทั้ง ๒ เปลือกสมุลแว้ง ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ บัวหลวง ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคต้ม ๓ เอา ๑ กินแก้อาโปธาตุพิการ
เดือน ๒, ๓, ๔, ถ้าไข้ใน ๓ เดือนนี้ เปนด้วยนอนผิดเวลา คือปถวีธาตุกำเริบนั้นตั้งแต่ (ผมพิการ) ให้คันสีสะนัก มักเปนรังแคให้เจ็บหนังสีสะเนืองๆ ไป (ขนพิการ) มักให้เจ็บทั่วสารพางค์กายทุกขุมขน ให้ขนลุกขนพองทั่วทั้งตัว (เล็บพิการ) มักให้เจ็บต้นเล็บ ให้ต้นเล็บเขียวต้นเล็บดำช้ำโลหิต ให้เจ็บเสียวๆ นิ้วมือนิ้วเท้า (ฟันพิการ) มักให้เจ็บรายฟันบางทีให้เปนฝีรำมะนาด บางทีให้เปนโลหิตไหลออกทางรายฟัน ให้ฟันคลอนฟันถอนออก (หนังกำเริบ) ให้ร้อนผิวหนังทั่วสารพางค์กาย บางทีให้เปนผื่นดุจเปนผดแสบร้อนอยู่เนืองๆ (เนื้อกำเริบ) มักให้นอนสดุ้งไม่หลับสนิทมักให้ฟกให้บวมบางทีให้เปนวงผุดขึ้นเปนหัวดำหัว แดงหัวเขียวทั้งตัว บางทีเปนดุจลมพิษสมมุติว่าเปนประดง เหือด หัด ต่างๆ (เอ็นกำเริบ) มักให้เจ็บสบัดร้อนสท้านหนาวให้ปวดสีสะ ท่านเรียกว่าลมอำมะพฤกษ์กำเริบ (กระดูกพิการ) ให้เมื่อยขบทุกข้อทุกกระดูก (สมองกระดูกกำเริบ) มักให้ปวดสีสะเนืองๆ (ม้ามพิการ) มักให้ม้ามหย่อน (หฤไทยพิการ) ให้คลุ้มให้คลั่งดุจเปนบ้า ถ้ามิฉะนั้นให้หิวโหยหาแรงมิได้ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก (ตับพิการ) ให้ตับโตตับทรุดเปนฝีในตับแลตับพิการต่างๆ (พั้งพืดพิการ) ให้เจ็บให้อาเจียรจุกเสียดกลับเข้าเปนเพื่อลม (พุงพิการ) มักให้ปวดท้องแดกขึ้นแดกลงปวดขบอยู่เนืองๆ (ปอดพิการ) มักให้ปวดเปนพิษให้กระหายน้ำอยู่เนืองๆ (ไส้ใหญ่พิการ) มักให้สอึกให้หาวให้เรอ (ไส้น้อยพิการ) มักให้พะอืดพะอมท้องขึ้นท้องพอง มักเปนท้องมารกระไษย บางทีให้ลงท้องตกมูกตกเลือดเปนต่างๆ (อาหารใหม่พิการ) มักให้ลงท้องลงแดง มักให้อาเจียรมักให้เปนป่วง ๗ จำพวก (อาหารเก่าพิการ) มักให้กินอาหารไม่รู้จักรสเปนต้น ที่จะให้บังเกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารแปลกสำแลง สมองสีสะเมื่ออยู่ดีๆ เปนปรกตินั้น อันว่ามันในสมองเราท่านทั้งหลายนี้ พร่องจากกระบานสีสะประมาณเส้นตอกใหญ่หนึ่ง ก็เดือดจนเต็มกระบานสีสะก็ให้ปวดสีสะยิ่งนัก ให้ตาแดงให้คลั่งเรียกว่าสันนิบาตต่อกันกับลม ให้ใช้ยาเปนสุขุมมันในสมองยอบ ลงเปนปรกติ จึงหายปวดสีสะแล อันว่าปถวีธาตุ ๒๐ ประการ ซึ่งกล่าวมาทั้งนี้ ยาขนานเดียวแก้ตลอดถึงกันสิ้นแล,
ยาชื่อตรีวาสัง แก้ปถวีธาตุ ๒ ประการ คือ สมองกระดูก, ม้าม, พิการ ให้เอากะเทียม ๑ ใบคนทิสอ ๑ ใบสะเดา ๑ เปลือกต้นตีนเป็ด ๑ เบญจกูล ๑ สมอทั้ง ๓ จันทน์ทั้ง ๒ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ตรีกฏุก ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ ส่วน เปลือกกันเกรา ๒ ส่วน เปลือกสมุลแว้ง ๓ ส่วน ทำเปนจุณละลายน้ำผึ้งกินแก้ปถวีธาตุทั้ง ๒ ประการ
ขนานหนึ่งแก้ปถวีธาตุ ๓ ประการ คือพั้งพืด, ปอด, พุง, พิการ ให้เอา แห้วหมู ๑ แฝกหอม ๑ เปราะหอม ๑ ใบสะเดา ๑ กานพลู ๑ ผลเอ็น ๑ หญ้าตีนนก ๑ การะบูร ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ผลบุนนาก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ดอกกรุงเขมา ๑ ผลผักชี ๑ ดีงูเหลือม ๑ เนระภูสี ๑ ดอกผักปอด ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคทำเปนจุณบดทำแท่ง ฝนด้วยน้ำดอกไม้ แซกชะมด พิมเสน น้ำจันทน์ทั้ง ๒ กินแก้ปถวีธาตุพิการทั้ง ๓ แล
ยาชื่อประสะพิมเสน แก้ปถวีธาตุ ๓ ประการ คือหัวใจ, ตับ, ปอด, พิการ ให้ประกอบชะมดเชียง ๑ พิมเสน ๑ ดอกกรุงเขมา ๑ ผลเอ็น ๑ ฤๅษีประสมแล้ว ๑ เปลือกต้นตีนเป็ด ๑ ใบสะเดา ๑ ใบเสนียด ๑ หญ้าตีนนก ๑ สมอทั้ง ๓ มะขามป้อม ๑ อบเชย ๑ ลำพัน ๑ โกฐสอ ๑ ใบกระวาน ๑ ดอกบุนนาก ๑ เปราะหอม ๑ ดอกผักปอด ๑ เกสรบัวน้ำทั้ง ๕ ดอกคำลาว ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคบดทำแท่งฝนด้วยน้ำจันทน์กินแก้ปถวีธาตุทำเภท ต่างๆ แล
ขนานหนึ่ง เอาใบบอระเพ็ด ๑ แห้วหมู ๑ ชีรากากี ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ กะเทียม ๑ ชะเอมเทศ ๑ โกฐสอ ๑ เทียนดำ ๑ ตรีกฏุก ๑ เปลือกต้นตีนเป็ด ๑ สมอไทย ๑ ใบสะเดา ๑ โกฐก้านพร้าว ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่งด้วยน้ำผึ้งเท่าผลพุดทรา กินเช้าเย็นบำบัดปถวีธาตุ ๘ จำพวก ตั้งแต่ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูก, ถ้าพิการกำเริบ ดังกล่าวมานี้หายสิ้นแล
ขนานหนึ่ง เอาใบเสนียด ๑ เจตมูลเพลิง ๑ เปลือกโมกมัน ๑ แห้วหมู ๑ โกฐพุงปลา ๑ ผลผักชี ๑ สมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ มะขามป้อม ๑ รากตองแตก ๑ แฝกหอม ๑ ผลกระดอม ๑ บอระเพ็ด ๑ กระถินแดง ๑ ขิงแห้ง ๑ รากไคร้เครือ ๑ หญ้าตีนนก ๑ ต้มด้วยน้ำท่า น้ำมูตรโคก็ได้ เมื่อจะกินปรุงขันทศกรใส่กิน แก้ไข้ตรีโทษในปถวีธาตุ คือไส้ใหญ่ไส้น้อยทั้ง ๒ ประการ หายแล
ขนานหนึ่ง เอาเปลือกหอยขม ๑ หอยแครง ๑ พักแพวแดง ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ การะบูร ๑ เอาเสมอภาค พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย ทำเปนจุณละลายน้ำผึ้งกินแก้ปถวีธาตุพิการ คืออาหารใหม่อาหารเก่าหายแล
ขนานหนึ่ง เอารากช้าพลู ๑ รากสะค้าน ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ สมอไทย ๑ สมอเทศ ๑ ผลผักชี ๑ กฤษณา ๑ จันทน์หอม ๑ มะขามป้อม ๑ แห้วหมู ๑ ผลพิลังกาสา ๑ รากขัดมอนหลวง ๑ กกลังกา ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค บอระเพ็ด ๒ ส่วน ดีปลี ๔ ส่วน ต้มกินแก้ปถวีธาตุ คือสมองสีสะเมื่อเหมันตฤดูหายแล
ยาแก้ปวดสีสะ ให้เอาชะเอมทั้ง ๒ อบเชยเทศ ๑ เปลือกคนทา ๑ จันทน์หอม ๑ โกฐสอ ๑ ใบสมี ๑ ผลผักชี ๑ ขิง ๑ ชะมด ๑ พิมเสน ๑ ทำเปนจุณกวนเปนยานัดถุ์แก้ปวดสีสะหายแล
ยาสุมสำหรับกัน ให้เอาผักหนอก ๑ ขิงสดแต่น้อย หอม ๕ หัว เทียนดำ ๑ ดินประสิวขาว ๑ บดสุมเมื่อเหมันตฤดูแล
เมื่อคิมหันตฤดู ให้เอาใบเสนียด ๑ เทียนดำ ๑ งาเม็ด ๑ งาช้าง ๑ เข้าสาร ๑ ดินประสิวขาว ๑ บดสุมสมองยุบหาย ปวดสีสะ โลหิตจมูกแลรายฟันนั้นหายแล
เมื่อวัสสันตฤดู ให้เอาใบน้ำดับไฟ ๑ เทียนดำ ๑ ไพล ๑ หัวหอม ๑ ดอกพิกุล ๑ ผักขวง ๑ ใบหางนกยูง ๑ ฆ้องสามย่าน ๑ ดินประสิวขาว ๑ บดสุมห้ามปวดสีสะห้ามจมูกตึงดีนักแล
ทีนี้จะว่าด้วยธาตุแตกต่อไปแพทย์พึงรู้เถิด อันว่าลักษณเตโชธาตุแตกนั้น คือให้ขัดในอกในใจประการ ๑ ให้บวมมือบวมเท้าประการ ๑ ให้ไอเปนมงคร่อประการ ๑ ลักษณ ๔ ประการนี้คือเตโชธาตุอันชื่อว่าปรินามมัคคีแตกแล
ถ้าจะแก้ให้เอา พักแพวแดง ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ชะเอมเทศ ๑ ผลมะขามป้อม ๑ ตะไคร้ต้น ๑ ว่านเปราะ ๑ รากสวาด ๑ หญ้ารังกา ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณละลายน้ำนมโค น้ำร้อนก็ได้ กินแก้เตโชธาตุอันชื่อว่าปรินามมัคคีแตกหายวิเศษแล
อันว่าเตโชธาตุชื่อปริหัคคี มักให้มือเย็นเท้าเย็น ชีพจรไม่เดิน ประการหนึ่งชีพจรขาดหลัก บางทีให้ตัวเย็นดุจน้ำ แต่ภายในร้อนให้รดน้ำอยู่มิรู้ขาด บางทีให้ตัวเย็นแล้วเสโทธาตุดุจเมล็ดเข้าโภช อันนี้เตโชธาตุชื่อว่าปริหัคคีแตก
ถ้าจะแก้ให้เอา เขาควายเผือก ๑ นอแรด ๑ เปลือกหอยขม ๑ เปลือกหอยแคลง ๑ เขี้ยวจรเข้ ๑ ยา ๕ สิ่งนี้สุม ให้เปนถ่าน หวายตะค้า ๑ ผลจันทน์ ๑ แก่นแสมทเล ๑ แห้วหมู ๑ รากขัดมอน ๑ เอาสิ่งละ ๑ ส่วน กะเทียม ๓ ส่วน พริกไทย ๕ ส่วน ตำบดละลายน้ำร้อนแซกพิมเสนกินให้ขับไฟธาตุให้ร้อนตลอดปลายมือปลายเท้าให้ ชีพจรเดินแล
ขนานหนึ่งแก้เสโทพิการตกนัก ให้เอานางกุ่มรุ่นๆ เท่าด้ามพร้าเอามาปอกเปลือกเสียแล้วขูดเอามวกที่ติดแก่นนั้น ๑ เมล็ดถั่วแปบ ๑ ดินสอพอง ๑ เทียนดำ ๑ พิมเสนใส่ให้มากๆ ประสมกวนให้เข้ากันทาตัวคนไข้นั้น เสโทหยุด ตัวคนไข้ก็อุ่นออกมาแล
ยากินแก้กระหายน้ำแก้ร้อนภายใน ให้เอาดินถนำ ๑ เผาไฟให้ไหม้โชน รากบัวหลวง ๑ ฝุ่นจีน ๑ รังหมาร่า ๑ ชาตก้อน ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ เกสรบัวหลวง ๑ รากสลอดน้ำ ๑ รากคันทรง ๑ ก้ามปูทเลเผา ๑ ดินประสิวขาว ๑ เอาเสมอภาคบดทำแท่งละลายน้ำดอกไม้ทั้งกินทั้งพ่น แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนแล
อันว่าชิระนัคคีแตกนั้นเสโทตก คือความชะรานำพระยามัจจุราชให้มาเล้าโลมสัตว์ทั้งปวง จะให้ชีวิตรอออกจากร่างกายนั้นก็ให้คนไข้มีกายวิปริตต่างๆ คือให้น่าผากตึง ตาไม่รู้จักหน้าฅน แล้วก็กลับรู้จักอีกเล่า กายนั้นสำผัสสิ่งใดๆ ก็ไม่รู้สึกตัวอีกเล่าแต่ไปๆ มาๆ อยู่จะได้เที่ยงลงยังไม่ได้ก่อน แต่ว่าแตกร้าวอยู่แล้ว ท่านว่าเตโชธาตุชื่อชิระนัคคีแตกจึงเปนดังกล่าวมานี้ ให้แพทย์พึงรู้เถิด
ถ้าจะแก้ เอาผลพิลังกาสา ๑ พักแพวแดง ๑ ผลโมกมัน ๑ ใบย่านทราย ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณ ละลายน้ำเถามวกก็ได้ น้ำนมโคก็ได้ กินแก้ชิระนัคคีแตกพิการหายแล
อันว่าเตโชธาตุ ชื่อว่าสันตัปปัคคี แตกเมื่อใดแก้มิได้ตายแล
ลำดับนี้จะกล่าวด้วยวาโยธาตุ ๖ จำพวกแตกต่อไป คืออุทธังคมาวาตา แตกนั้น มักให้ดิ้นรนมือเท้าขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปๆ มาๆ ทุรนทุรายให้หาวให้เรอบ่อย ๆ คือลมอุทธังคมาวาต
ถ้าจะแก้เอา โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ผลราชดัด ๑ ผลสาระพัดพิษ ผลมะแว้งเครือ ๑ รากจิงจ้อทั้ง ๒ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ เทียนขาว ๑ เทียนดำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณ ละลายน้ำมะงั่วก็ได้น้ำมะนาวก็ได้ กินแก้ลมอุทธังคมาวาต หายแล
ลมชื่ออโทคมาวาตาแตกนั้น ให้ยกมือยกเท้าไม่ได้ ให้เมื่อยขบทุกข้อทุกกระดูก เจ็บปวดยิ่งนัก
ถ้าจะแก้ให้เอา เปลือกมูกหลวง ๑ พริกไทย ๑ รากไคร้เครือ ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณ ละลายน้ำมูตรโคดำก็ได้ น้ำส้มส้าก็ได้ กินแก้ลมอโธคมาวาตา หายแล
ลมกุจฉิสยาวาตา แตกนั้น มักให้ท้องขึ้นท้องลั่นให้เจ็บอก ให้สวิงสวาย ให้แดกขึ้นแดกลง
ถ้าจะแก้ให้เอา มหาหิงคุ์ ๑ ลำพัน ๑ ดีปลี ๑ เมล็ดในสวาด ๑ ผลราชดัด ๑ ชะเอมเทศ ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ใบย่านทราย ๑ กรุงเขมา ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณ ละลายน้ำขิงก็ได้น้ำร้อนก็ได้ กินแก้ลมกุจฉิสยาวาตหายแล
ลมโกฏฐาสยาวาตา แตกนั้น มักให้เหม็นคาวฅอให้อาเจียรให้จุกเสียดให้แดกในอก
ถ้าจะแก้ให้เอา ใบสลอดต้มกับเกลือให้สุกแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ๑ ชะเอมะทศ ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ รากตองแตก ๑ รากจิงจ้อใหญ่ ๑ ลำพัน ๑ พริกล่อน ๑ ดีปลี ๑ ใบหนาด ๑ การะบูร ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณ ละลายน้ำนมโคก็ได้น้ำผึ้งก็ได้ น้ำร้อนก็ได้กินหายแล
อันว่าลมชื่ออังคมังคานุสารีวาตา คือลมพัดไปทั่วสรรพางค์กายนั้นแตก ให้หูตึงคนเจรจาไม่ได้ยินแล้วเปนดุจหิ่งห้อยออกจากตา ให้เมื่อยต้นขาทั้ง ๒ ข้างดุจกระดูกจะแตก ให้ปวดในกระดูกสันหลัง ให้สบัดร้อนสท้านหนาว ให้อาเจียรลมเปล่าๆ กินอาหารมิได้ เปนดังนี้คือลมอังคะมังคานุสารีวาตแตก
ถ้าจะแก้ให้เอา ผักเสี้ยนผี ๑ ผักคราด ๑ หญ้ารังกา ๑ ผลผักชีทั้ง ๒ ผลพรรผัดกาด ๑ ดอกจงกลนี ๑ เถาสะค้าน ๑ เมล็ดแตงโม ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณละลายน้ำผึ้งก็ได้ น้ำร้อนก็ได้กินแก้ลมอังคะมังคานุสารีวาตาหายแล
อันว่าลมอัสสาสะปัสสาสะวาตา นั้น จะได้ขาดสูญหามิได้ ถ้าสิ้นลมอัสสาสะปัสสาสะวาตาแล้วเมื่อใด ก็ตายเมื่อนั้นแล
ลำดับนี้จะกล่าวด้วยธาตุน้ำ คือแตกนั้นทำให้คนไข้คลั่งไคล้หลงมะเมอเพ้อพก นอนสดุ้งหวาดหวั่นบางทีให้ลงดุจกินยาทุเลา ให้ลงเขียวลงแดงลงเหลืองออกมา ทำให้หาสติมิได้
ถ้าจะแก้ให้เอา เทียนเข้าเปลือก ๑ เทียนตาตักแตน ๑ เทพทาโร ๑ เปลือกมะซาง ๑ เปลือกไข่เน่า ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณบดแซกดีจรเข้มากๆ ละลายน้ำดอกไม้รำหัดพิมเสน กินแก้คลั่งไคล้ไหลหลงมะเมอเพ้อพกหายแล
ขนานหนึ่งแก้ลงท้อง เอาผลจันทน์ ๑ ผลเบญจกานี ๑ เปลือกมะขามขบ ๑ ครั่ง ๑ ยาฝิ่น ๑ เปลือกผลทับทิม ๑ กำยาน ๑ เปลือกมังคุด ๑ ผลมะตูม ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณ ละลายน้ำเปลือกผลทับทิมต้มกินหายแล ถ้าเสมหะตกให้จับสบัดร้อนสท้านหนาวเปนเวลา บางทีให้ลงท้องเปนเสมหะโลหิตเหน้าให้ปวดมวน
ถ้าจะแก้ให้เอา ผลผักชี ๑ ลำพัน ๑ เปลือกโมกหลวง ๑ ผลน้ำเต้าขม ๑ กระดอมทั้ง ๕ แก่นมูลเหล็ก ๑ เอาเสมอภาคต้มกินเสียก่อน แล้วจึงประกอบยาแก้เสมหะให้กินต่อไป
พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ถ้าแพทย์ผู้ใดจะแก้เสมหะพิการ ให้ต้มยาชำระเสมหะเหน้าเสียก่อน ให้เอาใบมะขาม ๑ ใบส้มป่อย ๑ ฝาง ๑ สิ่งละกำมือ ผลสมอไทยเท่าอายุ เถาวัลเปรียง ๑ หอม ๕ หัว ต้มใส่ดีเกลือกินตามธาตุหนักธาตุเบา แล้วจึงแต่งยาให้กินต่อไปแล
ยาแก้บิดเมื่อธาตุแตก เอาเมล็ดในมะม่วงกะล่อน ๑ ผลเบญจกานี ๑ ผลจันทน์ ๑ ครั่ง ๑ ดินกิน ๑ เปลือกมะขามขบ ๑ เปลือกมังคุด ๑ เทียนดำ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ยางตะเคียน ๑ น้ำประสารทอง ๑ สีเสียดทั้ง ๒ ยาฝิ่น ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณใส่ในผลทับทิม แล้วพอกด้วยมูลโคชั้นหนึ่ง สุมไฟแกลบให้สุกแล้วจึงบดทั้งผลทับทิมทำแท่งไว้ ฝนด้วยน้ำปูนใสกับไพลกินแก้ปวดมวนเสมหะ แก้โลหิตเหน้าร้าย ถ้ายังไม่หยุดให้ประกอบยา ที่แก้ดีพิการดีแตกมาแก้ ก็ได้เหมือนกัน
แล้วจึงประกอบยาต้มบำรุงธาตุ อันชื่อว่าธาตุบันจบนั้น ให้กินต่อไป พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ ถ้าแพทย์ผู้ใดจะประกอบยาธาตุบันจบ ท่านให้ถามตัวคนไข้นั้นให้รู้ว่า คลอดวันใดเดือนใด ขึ้นหรือแรม ครั้นเขาบอกแล้วให้พิจารณาดูว่าจะเปนฤดูธาตุอันใด ให้ประกอบยาประจำธาตุประจำฤดูอันนั้น ตั้งไว้เปนปะธานแล้วให้คิดถอยหลังเข้าไปจับวันเดือนฤดูมูลปฏิสนธินั้นว่าวัน ใดเดือนใดฤดูใด ให้ประกอบยาประจำธาตุประจำฤดูอันนั้น มาบันจบกันกับยาประจำธาตุเมื่อแรกคลอดนั้น เปนสองขนานแล้วแซกจันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา ๑ ชะลูด ๑ เกสรบัวหลวง ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอก สารภี ๑ ยา ๘ สิ่งนี้เอาแซกลงต้มกิน
หนองแตกไหลออกเนืองๆ ให้กายซูบผอมกินอาหารไม่รู้จักรส มักเปนฝีภายใน ๗ ประการ ถ้าจะแก้ให้ประกอบยาดังนี้ รังมดลี่รังหนึ่ง ใบมะกา ๕ ตำลึง เทียนดำ ๕ บาท ผลสมอเทศ ๕๖ ผล รากตองแตก ๕ ตำลึง หัวหอม ๑๐ บาท ขมิ้นอ้อยยาวคืบหนึ่งเอา ๓ หัว กานพลู ๔ บาท น้ำประสารทอง ๒ บาท ต้มกิน แซกดีเกลือตามธาตุหนักธาตุเบา เปนยาชำระบุพโพพิการ เสียก่อน แล้วจึงประกอบยาประจำธาตุแก้เสมหะก็ได้ ถ้าไม่ฟังให้ประกอบยานี้
เอาเปลือกโมกหลวง ๑ ตรีกฏุก ๑ ผลราชดัด ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ รากกะพังโหม ๑ หัวเข้าค่า ๑ หอมแดง ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณละลายน้ำร้อนน้ำเย็นก็ได้กิน
โลหิตพิการหรือแตกก็ดี ท่านกล่าวไว้เมื่อแรกเปนนั้น แพทย์สมมุติว่าไข้กำเดาเพราะโลหิตกำเริบ ถ้าแตกไซร้ก็เปนพิษต่างๆ ผุดขึ้นภายนอก แพทย์ทั้งปวงสมมุติว่าเปนลากสาด เข้าไหม้ใหญ่, เข้าไหม้น้อย, เปลวไฟฟ้า, ประกายเพลิง, ลำลาบเพลิงก็ว่าสมมุติเรียกชื่อต่างๆ เพราะโลหิตแตกกระจายส้านออกผิวมังสะ ฝ่ายข้างภายในนั้นก็ทำให้เปนต่างๆ บางทีให้อาเจียรโลหิต บางทีโลหิตนั้นแล่นเข้าจับหัวใจ ให้คลั่งให้เพ้อหาสติมิได้ บ้างว่าสันนิบาต โลหิตก็ว่า เปนเพื่อโลหิตสมุฏฐาน บางทีให้ชักเท้าหงิกมือกำ บางทีให้หนาวให้ร้อน บางทีให้ขัดอุจจาระปัสสาวะๆ ดำแดงขาวเหลืองให้เปนต่างๆ อย่างนี้ว่าแต่ที่โลหิตแตกอย่างเดียว ในธาตุน้ำนั้นถ้าแตกเปน ๒ อย่าง ๓ อย่าง ๔ อย่าง ๕ อย่างเข้าแล้ว จะแก้ไม่ได้โดยเร็วพลันใน ๒ วัน ๓ วันนั้น ถ้าเปนแต่อย่าง ๑ หรือ ๒ ท่านให้แก้ดูก่อน ที่โลหิตแตกส้านออกมาถึงผิวเนื้อนั้น ท่านให้ประกอบยาที่แก้ไข้เหนือ แก้ที่ทำภายในให้ลงโลหิตตกนั้น ท่านให้ประกอบยาที่แก้ลักกะปิดแก้เถิด
อันว่ายาในคัมภีร์ธาตุน้ำนี้ ให้แก้ธาตุน้ำคือโลหิตแตก ให้เอาบอระเพ็ด ๑ ข่าตาแดง ๑ เมล็ดพรรณผักกาด ๑ ผลกระดอม ๑ ผลมะแว้งต้น ๑ ไพล ๑ กะชาย ๑ แก่นสนเทศ ๑ จันทน์ทั้ง ๒ จันทะนา ๑ เปลือกโมกหลวง ๑ หัวแห้วหมู ๑ รากขัดมอน ๑ เถาสะค้าน ๑ รากช้าพลู ๑ จุกโรหินี ๑ รากแฝกหอม ๑ รากตองแตก ๑ กฤษณา ๑ กะลำภัก ๑ ขอนดอก ๑ ชะลูด ๑ สมอทั้ง ๓ อบเชย ๑ เกสรบัวหลวง ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ สรรพยาทั้งนี้เอาเสมอภาคต้ม ถ้าจะให้ทุเลาแซกดีเกลือตามธาตุหนักธาตุเบา ยาขนานนี้ชื่อปโตฬาธิคุณ แก้ในคิมหันตฤดู
ภาคหนึ่งแก้ในวัสสันตฤดู ให้ประกอบรากเจตมูลเพลิง ๑ โกฐกระดูก ๑ โกฐสอ ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐหัวบัว ๑ โกฐจุฬาลำภา ๑ โกฐเชียง ๑ โกฐสอเทศ ๑ เทียนทั้ง ๕ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ผลเอ็น ๑ ดีปลี ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ รากตองแตก ๑ รากแฝกหอม ๑ บอระเพ็ด ๑ รากคนทา ๑ รากท้าวยายม่อม ๑ รากพุมเรียงป่า ๑ รากมะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) ๑ รากหญ้านาง ๑ ระย่อม ๑ พิศนาด ๑ น้ำนมราชสีต้น ๑ แก่นสน ๑ สักขี ๑ ตรีผลา ๑ ผลพิลังกาสา ๑ ผลประคำดีควาย ๑ ผลมะขามป้อม ๑ พรรณผักชีล้อม ๑ ผักชีลา ๑ พรรณโหระพา ๑ พระยามูลเหล็ก ๑ พระยารากขาว ๑ ขี้เหล็ก ทั้ง ๕ โคกกระสุน เทพทาโร ๑ จุกโรหินี ๑ ข่าต้น ๑ เปลือกสมุลแว้ง ๑ ชะลูด ๑ อบเชยเทศ ๑ กฤษณา ๑ กะลำภัก ๑ ขอนดอก ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ ส่วน ดอกชะลูด ๑ ดอกมะกรูด ๑ ดอกมะนาว ๑ ดอกคัดเค้า ๑ ดอกกรรณิกา ๑ ดอกสุพรรณทลิกา ๑ ดอกมะลิซ้อน ๑ ดอกมะลิลา ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกการะเกด ๑ ดอกแก้ว ๑ ดอกมะกล่ำ ๑ ดอกคำไทย ๑ ดอกเกด ๑ ดอกลำเจียก ๑ ดอกกล้วยไม้ ๑ ดอกพุทธชาต ๑ ดอกจำปา ๑ ดอกกะดังงา ๑ ดอกบัวเผื่อน ๑ ดอกบัวขม ๑ ดอกบัวหลวง ๑ ดอกบัวขาว ๑ ดอกบัวแดง ๑ ดอกลินจง ๑ ดอกจงกลนี ๑ ดอกสัตบงกช ๑ ดอกสัตบุศย์ ๑ ดอกสัตบัน ๑ ดอกสันตวา ๑ ดอกสามหาว ๑ ดอกเร่ว ๑ ดอกยี่สุ่น ๑ ดอกประทุมราชา ๑ ดอกมหาหงษ์ ๑ ดอกหญ้างวงช้าง ๑ ดอกหางนกยูง ๑ ดอกละหุ่ง ๑ ดอกราชพฤกษ์ ๑ ดอกลำไย ๑ ยาทั้งนี้ทำเปนผงแล้วให้หาสรรพดี เปนต้นว่าดีสัตว์ต่างๆ ปรุงลงในยานี้แล้วบดปั้นแท่งไว้ น้ำกระสายนั้นยักย้ายดูแต่ควรกับลักษณโรคเถิด ยานี้ชื่อว่ามหาชุมนุม เหตุว่ามั่วสุมประชุมสรรพยานั้นพร้อมโดยสำคัญ ซึ่งจะแก้สรรพโรคพร้อมทั่วไป ทั้ง ๙๖ นั้นแล
เหงื่อถ้าแตกนั้นให้เหงื่อตกหนัก ให้ตัวเย็นให้ตัวขาวซีดให้สวิงสวาย ให้หากำลังไม่ได้
ถ้าจะแก้ให้ประชุมยา รากเจตมูลเพลิง ๑ โกฐสอ ๑ พรรณผักชี ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ เปลือกทองหลางน้ำ ๑ เปลือกกุ่มน้ำ ๑ รากถั่วภู ๑ ต้มกินหายเหงื่อ
ยานี้ชะโลมห้ามเหงื่อให้ประชุมยา หัวหอมแดง ๑ แป้งสุรา ๑ ดินสอพอง ๑ เหมือดคน ๑ เมล็ดในขนุนละมุด ๑ บดปั้นแท่งไว้ละลายน้ำดอกไม้ ห้ามเหงื่อแก้ผิวเนื้อสากชาเนื้อหดหู่ แก้กายซีดเพราะโทษเหงื่อแลมันข้นหายแล
น้ำตานั้น แตกพิการก็ให้ตามัว ให้น้ำตาตกหนักแล้วก็ตั้งแต่แห้งไปตานั้นก็เปนดุจเยื่อผลลำไย
ถ้าจะแก้ให้ประกอบยานี้ รากคนทีสอ ๑ รากเสนียด ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ ขิงแห้ง ๑ ทำเสมอภาคต้มกินแล้ว จึงประกอบยาหยอดตาให้ประชุม หินในสีสะปลาช่อน ๑ บัลลังก์ศิลา ๑ พิมเสน ๑ ฝนหยอดตาสังเกตดู ถ้ามีน้ำตาไหลออกมาถึงแก้มคนไข้นั้นก็ยังไม่ตาย ถ้าไม่มีน้ำตารักษาไม่ได้ตายแล
มันเหลว นั้นถ้าแตกกระจายออกทั่วสารพางค์ ก็ให้ตัวเหลืองตาเหลือง เว้นแต่อุจจาระปัสสาวะไม่เหลือง บางทีให้ลงให้อาเจียรดุจเปนป่วง ลงเพราะโทษน้ำเหลือง ถ้าจะแก้ด้วยยารสฝาดไม่หยุดให้ชำระน้ำเหลืองเสียก่อน แล้วจึงประกอบยาบำรุงธาตุต่อไป ให้ประชุมตรีกฏุก ๑ ผลมะขามป้อม ๑ รากช้าพลู ๑ ข่า ๑ สะค้าน ๑ ผลจันทน์ ๑ เอาเสมอภาคทำเปนจุณละลายน้ำใบมะระ ๑ น้ำกล้วยตีบก็ได้ ให้กินแก้อาโปธาตุคือมันเหลวแตกหายแล
น้ำลายแตกไซร้ ให้ปากเปื่อยน้ำลายเหนียว บางทีเปนเม็ดยอดขึ้นในลิ้นในฅอ ถ้าจะแก้ให้ประกอบยา จันทน์ทั้ง ๒ ว่านกีบแรด ๑ ว่านร่อนทอง ๑ ผลประคำดีควาย ๑ รากทนดี ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ สมอเทศ ๑ ดีงูเหลือม ๑ บดด้วยน้ำมะนาวเปนกระสายให้กินเท่าผลพุดทราแล้วจึงประกอบยาอม ให้เอากรามแรด ๑ กรามช้าง ๑ นอแรด ๑ เขี้ยวเสือ ๑ เขี้ยวปลาพยูน ๑ ผลจันทน์ ๑ เบญจกานี ๑ ใบหว้าอ่อน ๑ ยาทั้งนี้ขั้วให้เกรียมเอาสิ่งละส่วน น้ำประสารทองสตุ ๒ ส่วน สีเสียดทั้ง ๒ สิ่งละ ๔ ส่วน บดด้วยน้ำหมากดิบปั้นแท่งไว้ฝนด้วยน้ำปูนใสกับทะลายหมากดิบกวาดหาย
แล้วทำยาบ้วนปาก เอาเปลือกตะเคียน ๑ ใบขัดมอน ๑ เปลือกหว้า ๑ ทางตาล ๑ เปลือกระกำต้น ๑ ใบสลอดน้ำ ๑ ใบทับทิม ๑ เอาเสมอภาคต้มใส่เกลือสักหน่อยหนึ่ง อมบ้วนปากวันละ ๓ เวลา หายแล
น้ำมูก เมื่อพิการแตกนั้น ให้ปวดในสมอง ให้น้ำมูกตกให้ตามัวให้ปวดสีสะ โทษ ๔ ประการนี้ ถ้าจะแก้ให้ทำยาสุมประกอบใบน้ำดับไฟ ๑ หัวหอม ๑ เทียนดำ ๑ ดินประสิวขาว ๑ เมล็ดฝ้ายขั้ว ๑ ใบพลูแก ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ บดเคล้ามูลน้ำมันหอมสุมกระหม่อม ๓ วัน หาย
ถ้ายังไม่หายให้ประกอบยาดม หัวหอม ๑ น้ำประสารทอง ๑ น้ำประสารดีบุก ๑ เอาเสมอภาคทำเปนยานัดถุ์ก็ได้ ให้ดมสูดเข้าไปก็ได้
แล้วจึงทำยากินภายใน เอาสะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ ขิง ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ แฝกหอม ๑ สมอไทย ๑ สมอเทศ ๑ พรรณผักชี ๑ จันทน์หอม ๑ กฤษณา ๑ เปราะหอม ๑ มะขามป้อม ๑ ว่านน้ำ ๑ ดอกบัวหลวง ๑ ดอกบุนนาก ๑ เอาเสมอภาคต้มกินแก้ธาตุน้ำ คือน้ำมูกแตกหายแล
มันข้น เมื่อพิการแตกไซร้ ดุจโลหิตเสียก็เหมือนกัน มันข้นพิการ ก็ซาบออกมาถึงผิวหนังดุจผดผุดออกเปนดวงๆ บางทีแตกเปนน้ำเหลือง ให้ปวดแสบปวดร้อนยิ่งนัก
ถ้าจะแก้ให้ประกอบ ใบกะเม็งแดง ๑ ใบถั่วแระ ๑ เทียนดำ ๑ เทียนขาว ๑ สิ่งละ ๒ บาท เปลือกกันเกรา ๖ บาท ยาเข้าเย็นเหนือ ๖ บาท ต้มกินหายแล
ยาทาตัว ให้ประกอบ ผักปลังแดง ๑ เข้าสาร ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ดินสอพอง ๑ ตำชะโลมทั่วตัวหายแล
ไขข้อ เมื่อพิการแตกก็ดี อันว่าไขข้อนี้อยู่ในกระดูก กระทำให้เมื่อยในข้อในกระดูกทุกแห่งดุจคราก จากกัน ให้ขัดให้ตึงทุกข้อ จะแก้เปนอันยากนักด้วยอยู่ในกระดูก ให้แก้ดูตามบุญเถิด ท่านให้ประกอบยา โกฐกะดูก ๑ โกฐกัดกลิ้ง ๑ โกฐกัดกรา ๑ รากแฟบ ๑ สิ่งละส่วน แก่นมะหาด ๑ แก่นปรู ๑ แก่นสนเทศ ๑ สักขี ๑ ผลเมื่อย ๑ รากมะกล่ำต้น ๑ รากประดงข้อ ๑ ดีปลี ๑ กระดูกงูเหลือม ๑ สิ่งละ ๒ ส่วน เหมือดคน ๑ ส้มเสี้ยว ๑ ส้มสันดาน ๑ พริกไทย ๑ ขิง ๑ สิ่งละส่วน รากคนทา ๕ ส่วน ยาเข้าเย็น ๑๐ ส่วน ต้มให้กินหายแล
มูตร เมื่อพิการแตกนั้น ให้ปัสสาวะวิปลาศ คือแดงคือเหลืองแลเปนนิ่วก็ดี บางทีดุจน้ำเข้าเช็ด ให้ขัดเบาให้เจ็บหัวเหน่า ให้หัวเหน่าฟกเปนนิ่วเปนมุตรกิจฉ์ เปนสัณฑฆาฏกาฬ ขึ้นในมูตร ให้มูตรพิการแปรเปนต่างๆ
ถ้าจะแก้มูตรแตกนั้นประกอบ สะค้าน ๑ รากช้าพลู ๒ รากเจตมูลเพลิง ๓ ดีปลี ๔ ขิง ๕ ผลมะตูมอ่อน ๖ แฝกหอม ๗ สมอทั้ง ๓ พรรณผักชี ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ยาเข้าเย็นจีน ๑ อ้อยแดง ๓ ปล้อง โคกกระสุน ๑ หัวแห้วหมู ๑ ต้มให้กินหายแล
ยาต้มแก้ขัดเบา เอาใบมะขามกำมือ ๑ ใบส้มป่อยกำมือ ๑ ใบมะนาว ๗ ใบ หอม ๓ หัว สารส้ม ๑ ดินประสิวขาว ๑ หนักสิ่งละ ๑ บาท น้ำอ้อยงบ ๑ หัก ๔ อันทิ้งเสียข้างทิศตวันตกอันหนึ่ง เหลือ ๓ อันใส่หม้อต้มให้กินเบาออกคล่องหายแล
ถ้ายังไม่ออกสดวกดี ท่านให้แก้ในกระบวนโรคตามคัมภีร์ปะระเมหะต่อไปเถิด
บัดนี้จะว่าด้วยธาตุดินต่อไป พระอาจารย์เจ้าจัดออกเปนแพนกแต่ละสิ่งๆ (๑) คือ ผม ถ้าพิการให้เจ็บสมองหัว ให้ผมร่วง
ถ้าจะแก้ให้ประกอบยานี้ ให้เอาทางตาลมาลนไฟบิดเอาน้ำถ้วย ๑ ใบครามตำบิดเอาน้ำถ้วย ๑ หญ้าแพรกตำบิดเอาน้ำถ้วย ๑ ขมิ้นอ้อยตำบิดเอาน้ำถ้วย ๑ น้ำมันงาถ้วย ๑ หุงให้คงแต่น้ำมัน ปรุงใส่ดีกา ๑ ดีนกกาน้ำ ๑ ดีตะพาบน้ำ ๑ ทาสีสะแก้ผมพิการหายแล
ขน เมื่อพิการ ให้เจ็บทุกขุมขนทั่วสารพางค์กาย ถ้าจะแก้ให้ทำยาน้ำมันที่แก้ผมพิการนั้นมาทาก็ได้ แล้วจึงทำยากินภายใน เอารากส้มป่อย ๑ รากพุดลา ๑ มะกรูดผล ๑ ต้มกินแก้ได้ทั้งเกษา, โลมา, พิการหายแล
เล็บ เมื่อพิการทำให้ต้นเล็บช้ำเขียวดำก็ดี บางทีให้ฟกบวม เปนต้นเดือนกลางเดือน บางทีให้ขบเล็บช้ำเปนหนองเจ็บปวดยิ่งนัก
ถ้าจะแก้ให้ประกอบ ชะมด ต้นฝ้ายผีก็ว่า เข้าสุกเผาไฟให้โชน ขมิ้นอ้อย ๑ ยาดำ ๑ ดินประสิวขาว ๑ บดพอกหายแล
ถ้ายังไม่ฟัง เอาฟองเป็ด ๑ เอาแต่เยื่อขาวมาประสมกับปูนที่กินกับหมาก พอกเข้ารัดไว้แห้งเองแล
ถ้ายังไม่ฟัง ให้ประกอบยาใหม่ ใบผักปลัง ๑ ใบบานเย็น ๑ เข้าสาร ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ บดพอกหายแล ถ้าไม่ฟังท่านให้ทำยาเตร็ดต่อไปเถิด
ฟัน เมื่อพิการหักถอนแล้วก็ดียังอยู่ก็ดี ก็ย่อมเปนประเวณีสืบๆ กันมา ถ้าเจ็บในไรฟันในรากฟันในเหงือก ก็ให้แก้ในทางรำมะนาด นั้นเถิด
หนัง พิการให้หนังสากหนังชาไป ถ้ามดหรือแมลงวันจะไต่จะจับ ก็ไม่รู้สึกกายให้แสบร้อนยิ่งนัก เรียกว่าเปนกัมมิโทษ (คือโทษเกิดแต่กรรม) ให้ประกอบยาใส่แป้งเข้าหมาก ๑ เปลือกเฉียงพร้านางแอ ๑ โกฐหัวบัว ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ เกสรบัวหลวง ๑ เสมอภาคบดด้วยน้ำดอกไม้ชะโลมกายหายแล
ยากิน ใส่ขิงแห้ง ๑ รากมะแว้งทั้ง ๒ ผลกระดอม ๑ รากมูลกาแดง ๑ สมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ เสมอภาคต้มปรุงขันทรศกรแลน้ำผึ้ง กินแก้ไข้กัมมิโทษ อันเกิดในผิวหนังหายแล
คือเนื้อ ๕๐๐ ชิ้น ถ้าพิการให้เสียวไปทั้งตัว มักให้ฟกที่นั่นบวมที่นี่ให้เปนพิษ บางทีให้ร้อนดุจไฟ บางทีให้ฟกขึ้นดุจประกายดาดประกายเพลิง
ถ้าจะแก้ให้ประสมยาเข้าก้ามปูทะเลเผา ๑ ฝางเสน ๑ รากลำโพง ๑ รากหมีเหม็น ๑ รากบัวหลวง ๑ เปลือกทองหลางน้ำ ๑ โกฐก้านพร้าว ๑ บดด้วยน้ำหางตะเข้ ต้มเปนกระสาย ทาทั้งตัวหายแล
ถ้าบวม ให้เอาเข้า สุกไหม้ ๑ ใบขี้เหล็ก ๑ ยาดำ ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ บดละลายน้ำปูนใสทาหายแล
ยากินภายใน ให้ใส่ว่านเปราะ ๑ สมอเทศ ๑ เทียนดำ ๑ ไพล ๑ รากพันงูแดง ๑ ตรีกฏุก ๑ เสมอภาคทำเปนจุณ ละลาย น้ำมะนาวน้ำส้มซ่าน้ำร้อนก็ได้ รำหัด เกลือกินหายแล ยานี้ชื่อว่า สังฆเภท
เอ็นเมื่อพิการ ส่วนว่าเส้นประธาน ๑๐ เส้น มีบริวาร ๒๗๐๐ เส้นนั้น ก็หวาดไหวไปสิ้นทั้งนั้น ที่กล้าก็กล้า ที่แข็งก็แข็ง ที่ตั้งดานก็ตั้งดาน ที่ขอดก็ขอดเข้าเปนก้อนเปนเถาไป เปนเหตุแต่จะให้โทษนัก แต่เส้นอันชื่อว่าสุมะนากับเส้นอำมะพฤกษ์นั้น ทำเหตุแต่จะให้ระส่ำระสาย ให้ร้อนให้เย็นให้เมื่อยให้เสียวไปทุกเส้นเอ็นทั้งตัว ตั้งแต่ที่สุดบาทาตลอดขึ้นไปถึงสีสะ ทำทางที่จะให้เจ็บเปนเวลา แต่เส้นอำมะพฤกษ์สิ่งเดียวนั้นให้โทษถึง ๑๑ ประการ ถ้าพร้อมทั้ง ๒๗๐๐ เส้นแล้วก็ตายแล ถ้าเปนแต่ ๒ เส้น ๓ เส้น ๔ เส้น ยังแก้ได้แล
ยาแก้ปถวีธาตุคือเส้นเอ็น ท่านให้เอาขิงแห้ง ๑ พริกไทย ๑ เทียนดำ ๑ ว่านน้ำ ๑ โกฐพุงปลา ๑ กระวานทั้งใบทั้งผล สะค้าน ๑ เกสรบัวหลวงขาว ๑ เกสรบัวหลวงแดง ๑ หญ้าตีนนก ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ แก่นขี้เหล็ก ๑ พยามือเหล็ก ๑ ยาทั้งนี้ทำเปนจุณละลายน้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า น้ำส้มสายชู น้ำสุราก็ได้ กินแก้เส้นพิการเส้นแตกหายแล
ขนานหนึ่ง เอาเปลือกหอยโข่ง ๑ หอยขม ๑ หอยแครง ๑ หอยตาวัว ๑ หอยกาบ ๑ หอยมุก ๑ หอยสังข์ ๑ หอยพิมพการัง ๑ หอยนางรม ๑ กระดูกเสือ ๑ กระดูกวัว ๑ กระดูกแพะ ๑ กระดูกเลียงผา ๑ กระดูกควายเผือก ๑ ยานี้เผาไฟให้ไหม้โชน หนักสิ่งละ ๔ บาท รากตองแตก ๑ รากส้มเสี้ยว ๑ ส้มสันดาน สิ่งละ ๖ บาท สหัสคุณเทศ ๓ ตำลึง รากมะตาดเครือ ๑๐ บาท ปูนผง ๓ บาท พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ทำเปนจุณแล้วจึงเอา ด่างขี้เหล็ก ๑ ด่างงวงตาล ๑ ด่างสำโรง ๑ ด่างช้าแป้น ๑ ด่างต่อไส้ ๑ ด่างผักโหมหนาม ๑ ด่างพันงูแดง ๑ ด่างบอระเพ็ด ๑ ยาทั้งนี้แช่เปนด่างอุ่นไฟให้ร้อนละลายยาเนาวหอย กินแก้เส้น เปนดานเปนเถา เปนก้อน แลแก้เส้นแตกให้ปวดกำเริบต่างๆ กินยานี้หายแล
แล้วท่านให้ต้มยา เบญจขี้เหล็ก ๑ สมอทั้ง ๓ มะขามป้อม ๑ ใบมะกา ๑ รากตองแตก ๑ แห้วหมู ๑ บอระเพ็ด ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ โกฐน้ำเต้า ๑ เถาวัลเปรียงสดใส่ให้มาก เทียนทั้ง ๕ หนักสิ่งละ ๒ สลึง ยาดำ ๒ บาท ราชพฤกษ์ ๕ ฝัก ต้มกินแซกดีเกลือตามธาตุหนักธาตุเบาเถิด ชำระน้ำเหลืองแก้ทั้งเส้นหายแล
กระดูก ทั้งหลายประมาณได้ ๓๐๐ ท่อน ถ้าพิการว่าโทษโรคนี้จะแก้เปนอันยากยิ่งนัก แต่ท่านวางยาไว้ให้แก้ดูตามบุญของคนไข้
จึงให้ประกอบ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ สิ่งละส่วน มหาหิงคุ์ ๑ ยาดำ ๑ การะบูร ๑ สิ่งละ ๔ ส่วน พริกล่อนพริกหอมก็ได้ใส่เท่ายาทั้งหลาย น้ำเปลือกมะรุมเปนกระสาย บดปั้นเม็ดเท่าผลมะแว้งเครือ กิน ๙ เม็ด ๑๑ เม็ด ๑๕ เม็ด ถ้าให้ชักมือกำเท้างอน้ำตาตกน้ำลายฟูมปากลิ้นกระด้างคางแข็งมิรู้สึกตัว ฝนยานี้ด้วยน้ำร้อนก็ได้ น้ำเปลือกมะรุมก็ได้กินหายแล ถ้าจะให้ผายลม ละลายน้ำส้มมะขามเปียกก็ได้ น้ำมะนาวผลหนึ่งก็ได้ ฝนยา ๑๑ เม็ด ๑๓ เม็ด ๑๗ เม็ด ตามธาตุหนักธาตุเบา ยานี้ชื่อพรหมภักตรน้อยแล
ขนานหนึ่งให้ประกอบ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ดีปลี ๑ หนักสิ่งละ ๒ สลึง มหาหิงคุ์ ๑ การะบูร ๑ พริกล่อน ๑ สิ่งละ ๑ บาท ยาดำ ๑ รงทอง ๑ ปิ้งไฟ สิ่งละ ๓ บาท น้ำสุราเปนกระสาย บดปั้นเม็ดเท่าผลมะแว้งเครือ ยานี้ชื่อพรหมภักตรกลางประจุลมเสมหะ แลเหงื่อไคลไขข้อแก้ปถวีธาตุหายแล
ยาต้มให้ประกอบ ใบมหาสาร ๓๐๐ ใบ ใบมะนาว ๑๐๘ ใบ ๓ ใบต่อ ๑ ประดงข้อ ๑ เทียนขาว ๑ เทียนดำ ๑ สิ่งละ ๒ บาท โกฐกระดูก ๑ เถากะทั่งติด สิ่งละ ๔ บาท ขมิ้นอ้อย ๖ บาท ต้มกินแก้ปถวีธาตุคือ (กระดูก) พิการหายแล
เยื่อในกระดูกถ้าพิการแล้ว ยาแก้เหมือนยาแก้กระดูกนั้นแล
ม้าม ถ้าแตกพิการไซร้ให้ม้ามหย่อน แต่ว่ามักเลือกที่ตาย ถ้าจะแก้ให้เอา โคกกระสุนกำมือ ๑ มะกรูดผล ๑ ฝาน ๓ ชิ้น ขมิ้นอ้อย ๕ ชิ้น ปูนขาวแช่น้ำให้ใส ทำเปนน้ำต้มให้กินหายแล
ยาต้มประจำปถวีธาตุ คือม้ามแตก ให้ประกอบรากไม้รวก ๑ แห้วหมู ๑ จันทน์ทั้ง ๒ รากมะตูม ๑ รากแตงหนู ๑ เอาเสมอภาคห่อผ้าขาวต้มกินแก้เจ็บแก้ร้อนแก้หนาว แก้พิษต่างๆ แล
ดวงหฤทัย ถ้าพิการก็ดีแตกก็ดี กระทำให้เป็นคนเสียจริต ถ้ายังอ่อนอยู่ก็ให้คุ้มดีคุ้มร้าย มักให้ขึ้งโกรธ บางทีให้ระส่ำระสาย ให้หิว หากำลังไม่ได้
ถ้าจะแก้เอา ผลคนทิสอ ๑ ใบสหัศคุณเทศ ๑ ผลสะบ้าปิ้งไฟ ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ดีปลี ๑ เทียนเข้าเปลือก ๑ เทียนตาตักกะแตน ๑ เทพทาโร ๑ บดปั้นแท่งไว้ฝนด้วยน้ำดอกไม้ รำหัดพิมเสนกินหายแล แลยานี้ชื่อมูลจิตรใหญ่ ใช้ได้ ๑๐๘ แล
ขนานหนึ่งเอา ผลเอ็นเทศ ๑ ชะเอมเทศ ๒ ใบกระวาน ๓ ดอกบุนนาก ๔ พริกไทย ๕ ขิงแห้ง ๖ ดีปลี ๗ อบเชยเทศ ๘ รากน้ำใจใคร่ ๙ เกสรบัวหลวง ๑๐ จันทน์ขาว ๑๑ ทำเปนจุณแล้วจึงใส่น้ำตาลทรายเท่ายาทั้งหลาย ละลายน้ำร้อนกินแก้ลมแก้โลหิตจับดวงหฤทัย ให้คลั่งไคล้ทุรนทุรายหายแล ยานี้ชื่อประฐมสักขะระใหญ่ แล
ขนานหนึ่งชื่อสว่างอารมณ์ ให้เอารากบัวหลวง ๑ ผลบัวหลวง ๑ หัวถั่วภู ๑ แห้วสด ๑ กระจับสด ๑ ชะลูด ๑ ขอนดอก ๑ กรุงเขมา ๑ หญ้านาง ๑ เกสรบัวหลวง ๑ เกสรบัวขม ๑ เกสรบัวเผื่อน ๑ สัตบงกช ๑ สัตบุศย์ ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกกรรณิกา ๑ ชะมด ๑ พิมเสน ๑ หญ้าฝรั่น ๑ อำพัน ๑ เกล็ดหอยเทศ ๑ บดฝนด้วยน้ำดอกไม้เทศ กินชูกำลังแก้สวิงสวาย ถึงบริโภคอาหารไม่ได้สัก ๗ วันก็ไม่ตาย แก้หฤไทยระส่ำระสาย กินหายแล
ขนานหนึ่งชื่อ สมมิตรสวาหะ ท่านให้เอานมผา ๑ ศิลายอน ๑ บัลลังก์ศิลา ๑ สังข์ ๑ ดินถนำ ๑ แก้วแกลบ ๑ ดินดานในน้ำ ๑ เทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๙ แฝกหอม ๑ บัวบก ๑ บัวน้ำทั้ง ๕ ดอกสัตบงกช ๑ ดอกกาหลง ๑ ดอกชงโค ๑ ดอกโยทกา ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกกระดังงา ๑ ดอกจำปา ๑ ดอกคำไทย ๑ ดอกสลิด ๑ ดอกมลิซ้อน ๑ ดอกมลิลา ๑ ดอกซ่อนกลิ่น ๑ ดอกพะยอม ๑ ดอกกรรณิกา ๑ ดอกสำโรง ๑ ดอกประดู่ ๑ ดอกผักคราด ๑ ดอกมหาหงษ์ ๑ ดอกข่า ๑ ดอกกระทือ ๑ ดอกเร่ว ๑ ดอกกะเจียว ๑ ดอกแคทั้ง ๒ ดอกทองกวาวทั้งเครือทั้งต้น กระวาน ๑ กานพลู ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กะลำภัก ๑ กฤษณา ๑ ขอนดอก ๑ ชะลูด ๑ อบเชย ๑ สนเทศ ๑ ผักกะโฉม ๑ ใบพิมเสน ๑ ใบเฉียงพร้าหอม ๑ ใบชะมดต้น ๑ ใบทองพันชั่ง ๑ ว่านกีบแรด ๑ ว่านร่อนทอง ๑ สังกะระณี ๑ เนระภูษี ๑ ระย่อม ๑ พิศนาด ๑ ว่านเพ็ชรโองการ ๑ ว่านฤๅษีประสมแล้ว ๑ สิริยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท ชะมด, พิมเสน, อำพัน, หญ้าฝรั่น, เกล็ดหอยเทศ, หนักสิ่งละ ๑ สลึง กระแจะตะนาว ๑ บาท บดปั้นแท่งไว้ฝนด้วยน้ำดอกไม้เทศ แซกน้ำตาลทรายกินแก้ใจพิการต่างๆ แก้คุณไสยอันซ้ำด้วยอาคมต่างๆ หาย
อนึ่งคือลมกำเริบเข้าจับหัวใจนอนนิ่งแน่ไป กระทำให้ลิ้นกระด้างคางแข็งอ้าปากไม่ออก ท่านให้เอาชะมดเชียง ส่วน ๑ พิมเสน ๑ การะบูร ๑ เทียนดำ ๑ ดองดึง ๑ เจตมูลเพลิง ๑ สิ่งละ ๒ ส่วน กฤษณา ๑ กะลำภัก ๑ จันทน์เทศ ๑ สิ่งละ ๓ ส่วน กำยาน ๔ ส่วน ขิง ๑ ดีปลี ๑ สิ่งละ ๘ ส่วน สนเทศ ๔๐ ส่วน ทำเปนจุณแล้วใส่น้ำมะนาวเปนกระสาย บดปั้นเปนแท่งตากไว้ที่ร่มให้แห้ง แล้วใส่ขวดปิดไว้อย่าให้ลมเข้าได้ ถ้าลมจับนิ่งแน่ไปให้ฝนด้วยน้ำมะนาว ๗ เม็ด คัด ปากกรอกเข้าไปฟื้นแล ถ้าจะแก้ไข้ระส่ำระสายหิวระหวยหาแรงมิได้ ให้ฝนด้วยน้ำดอกไม้ไทยไม้เทศ น้ำตาลกรวดให้กินหายแล ยานี้ชื่อมหาสดมภ์ใหญ่ วิเศษนักแล
ตับ นั้นถ้าพิการแตกก็ดี เปนเพราะโทษ ๔ ประการ ประการหนึ่งกาฬผุดขึ้นในตับจึงให้ตับหย่อน บางทีเปนฝีในตับย่อมให้ลงเปนโลหิตสดๆ ออกมา อนึ่งคือกาฬมูตรนั้นผุดขึ้นด้นเดินอยู่ในตับกระทำให้ลงเปนเสมหะโลหิตเหน้า ปวดมวนอยู่เสมอ ให้ตาแดงเปนสายโลหิตผ่านอยู่ คนทั้งปวงย่อมสมมุติเรียกว่ากระสือปิศาจเข้าปลอมกิน เพราะว่าคนไข้นั้นให้เพ้อหาสติมิได้ ย่อมเจรจาด้วยผี โรคหมู่นี้หมอจะแก้เปนอันยากนักประการหนึ่งเปนด้วยปถวีธาตุนั้นแตกเองจึงให้ ระส่ำระสาย แล้วก็ให้หอบให้ไออยู่เปนนิจ จะบริโภคอาหารก็ไม่ได้ จะหายใจก็ไม่ถึงท้องน้อย ลักษณดังนี้คือปถวีธาตุโทษทั้ง ๔ ประการ ซึ่งกล่าวมาล้วนตัดถ่ายเดียว ถ้ายังไม่พร้อมกัน ท่านให้แก้ไปด้วยสรรพคุณยาดูตามบุญเถิด ถ้าแพทย์ผู้ใดจะแก้ให้แก้ต้นข้อต้นเถา คือปถวีธาตุซึ่งแตกนั้นก่อน ท่านให้ทำยาชื่อว่าบุญจอำมฤตย์ ชำระให้ลงเสียให้สิ้นร้าย แล้วจึงแต่งยาสำหรับธาตุกินต่อไป
เอารากมะตูม ๑ รากมะดูก ๑ รากทองพันชั่ง ๑ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ผลสมอทั้ง ๓ พรรณผักชีทั้ง ๒ สารส้ม ๑ ขิงแห้ง ๑ รากมูลกาแดง ๑ จุกโรหินี ๑ เทพทาโร ๑ สมุลแว้ง ๑ โคกกระสุน ๑ สิ่งละ ๒ ส่วน สะค้าน ๑ ดีปลี ๑ ช้าพลู ๑ สิ่งละ ๓ ส่วน เปลือกโมกมัน ๔ ส่วน หัวแห้วหมู ๘ ส่วน จะต้มก็ได้จะทำเปนจุณก็ได้ ละลายน้ำมะนาว, น้ำมะกรูด, น้ำผึ้ง, น้ำส้มซ่าก็ได้ กินหายแล
ขนานหนึ่งเอา แก่นพรม ๑ หัวใจไวยราพ ๑ แก่นแสมทั้ง ๒ มหาละลาย ๑ ขมิ้นเครือ ๑ สิ่งละส่วน ถ้าจะดองใส่ดีเกลือลงส่วน ๑ ดองด้วยสุรา ๕ ทนาน ถ้าจะทำเปนจุณให้ละลายด้วยน้ำใบมูลเหล็ก ๑ น้ำมะนาว ๑ น้ำมะกรูด ๑ น้ำส้มซ่า ๑ น้ำขมิ้นอ้อย ๑ ก็ได้กินแก้ตับหย่อนหายแล
ขนานหนึ่งชื่อว่ากล่อมนางนอน เปนยาล้อมตับไม่ให้ตับทรุดลงไปได้ ท่านให้เอาเทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๙ รากไคร้เครือ ๑ สังกะระณี ๑ เกสรบัวน้ำทั้ง ๕ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกมลิ ๑ กฤษณา ๑ กลำภัก ๑ ชะลูด ๑ อบเชย ๑ ชะเอมเทศ ๑ น้ำประสานทอง ๑ ผงใบลาน ๑ กระดองปูป่า ๑ ชะมด ๑ พิมเสน ๑ เสมอภาคน้ำดอกไม้เปนกระสาย บดแล้วใส่ขันสัมฤทธิ์ลนควันเทียนให้สบกัน แล้วจึงปั้นแท่งไว้ฝนด้วยน้ำดอกไม้ น้ำกฤษณา ๑ กินแก้ระส่ำระสาย ถ้าลงเปนมูกเปนเลือดละลายน้ำกล้วยตีบ ถ้าจะแก้เสมหะน้ำมะเดื่อดิน แก้ร้อนละลายน้ำดอกไม้ทั้งกินทั้งชะโลม ถ้าล้อมตับดับพิษฝีพิษไข้พิษตาลพิษทรางขะโมยพิษฝีกาฬ เอารากหมากผู้หมากเมีย ๑ รากมะเฟือง ๑ รากต่อไส้ ๑ ฝาง ๑ ต้มทำน้ำกระสายละลายยากินหายแล
ขนานหนึ่งเอา รากมะขาม ๑ รากมะนาว ๑ รากมะกรูด ๑ ต้มน้ำ ๓ ส่วน เขี้ยว ให้เหลือส่วน ๑ ให้กินเสียก่อนแล้วจึงทำยาพอก
เอากระดูกคน, กระดูกค่าง, กระดูกควาย, กระดูกสุกร, เผาให้ไหม้โชน ขมิ้นอ้อย ๑ ไพล ๑ สิ่งละเสมอภาค บดพอกยอดอกหายแล
ถ้าไม่ฟังให้ประกอบ ใบเสนียด ๑ รากผักหนาม ๑ รากตูมกา ๑ รากผีเสื้อใหญ่ผีเสื้อน้อย ๑ รากตาเสือ ๑ รากมูลเหล็ก ๑ รากมะตูม ๑ รากมะดูก ๑ รากคัดเค้า ๑ รากมะกาต้น ๑ รากมะกาเครือ ๑ โลทนง ๑ ตับเต่าทั้ง ๒ ขอบชะนางทั้ง ๒ รากปรู ๑ รากคาง ๑ รากเล็บมือนาง ๑ รากมะหวด ๑ รากซ้องแมว ๑ หญ้าปีนตอ ๑ รากผักไห่ ๑ รากฟักเข้า ๑ รากครามทั้ง ๒ ตะไคร้ทั้ง ๒ รากหมอน้อย ๑ รากสนุ่น ๑ รากคากรอง ๑ รากไก่ให้ ๑ รากบัว ๑ รากระย่อม ๑ ว่านน้ำ ๑ สลัดได ๑ ชิงช้าชาลีทั้ง ๒ รากมะเขือป่า ๑ รากกล้วยตีบ ๑ รากกรวย ๑ รากคนทา ๑ หัวเอ็น ๑ รากเลาแลง ๑ รากมะพร้าว ๑ รากตาล ๑ สิริยา ๔๙ สิ่งนี้ สับใส่หม้อต้มรมก็ได้ หุงเปนชี่ ให้กินก็ได้หายแล
ถ้ายังไม่ฟังให้เอา รากละหุ่ง ๑ รากประดู่ ๑ เอื้องเพ็ดม้า ๑ หัวกระเช้าผีมด ๑ เปล้าทั้ง ๒ รากสนุ่น ๑ เถาชิงช้าชาลี ๑ รากมะเดื่อ ๑ รากขี้เหล็ก ๑ รากผีเสื้อทั้ง ๒ ราก เทียน ๑ สหัศคุณทั้ง ๒ รากโรคทั้ง ๒ รากเจตมูลเพลิง ๑ รากมะงั่ว ๑ รากมะนาว ๑ รากเล็บเหยี่ยว ๑ สับตากให้หมาด ต้มน้ำ ๓ ส่วน เขี้ยวให้เหลือแต่ส่วน ๑ แล้วให้สงกากขึ้นตากทำเปนจุณ จึงเอายานี้ปรุงลงอีก พิมเสน ๑ มหาหิงคุ์ ๑ เปลือกมะซาง ๑ เทียนดำ ๑ เทียนแดง ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ กำยาน ๑ ยาทั้งนี้ทำเปนจุณปรุงลง แล้วจึงเอาผล สลอดหนัก ๖ บาท ประสะเสียก่อน วันที่ ๑ ให้ต้มด้วยน้ำใบพลูแก วันที่ ๒ ให้ต้มด้วยช้าพลู วันที่ ๓ ให้ต้มด้วยใบพริกเทศ วันที่ ๔ ให้ต้มด้วยใบมะขาม วันที่ ๕ ให้ต้มด้วยน้ำเกลือ วันที่ ๖ ให้ต้มด้วยเข้าสุก วันที่ ๗ ให้ต้มด้วยมูตรโคดำ ครั้นต้มด้วยยาทั้ง ๗ นี้ แล้วเอายางสลัดใด ๔ บาทประสมกันเข้า พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย แล้วปรุงลงที่ยาผงทำไว้นั้น คลุกเข้ากับน้ำยาต้มที่รินไว้นั้น คุลีการ กันเข้าตากให้แห้ง ปั้นแท่งเท่าเมล็ดพริกไทยให้กินทีละเม็ด ลงจนถึงเสมหะแก้ตับทรุดตับพิการเปนต่างๆ ดังกล่าวมานั้นหายแล ยาขนานนี้ใช้ได้ ๑๐๐๐ หนึ่งแล
พังพืด เมื่อพิการแตกก็ดี ทำให้อกแห้งกระหายน้ำ คือโรคริศดวง แห้งนั้นแล
ถ้าจะแก้ให้ปรุงยา เอารากเปล้าน้อย ๑ รากหญ้างวงช้าง ๑ พริกไทย ๑ ขิง ๑ หอม ๑ กะเทียม ๑ เกลือ ๑ สิ่งละ ๗ บดให้กินหายแล
ถ้าไม่ฟัง เอาสุพรรณถันเหลือง ๑ ดินประสิวขาว ๑ ผลสลอด ๑ บดด้วยน้ำกล้วยตีบ ปั้นเท่าเมล็ดพริกไทยกินทีละเม็ด ใส่ในมะนาวกินหายแล
พุง เมื่อพิการแตกนั้น ให้ขัดอกให้ลงท้องขึ้นท้องพอง ให้แน่นในอกในท้องบริโภคอาหารไม่ได้ ถ้าจะแก้ให้เอาเบญจกูล ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ บอระเพ็ด ๑ รากช้าพลู ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ รากขัดมอน ๑ พรรณผักชี ๑ แห้วหมู ๑ เสมอภาคต้มให้กินบำรุงธาตุเสียก่อน
ถ้าไม่ฟังให้เอา หญ้าพันงูแดง ๑ รากมะดูก ๑ รากไก่ไห้ ๑ รากเบญมาศ ๑ ใบพลูแก ๑ ต้มอาบหาย
ถ้าไม่ฟังให้เอาเปลือกฝรั่ง ๑ พรายชะมบ ๑ ต้มอาบ ถ้าไม่ฟังให้เอา พิลังกาสาทั้ง ๕ ต้มด้วยสุราให้กินหายแล
ปอด เมื่อพิการแตกก็ดีอาการดุจไข้พิษ คือการขึ้นในปอดให้ร้อนอกกระหายน้ำ แล้วหอบจนโครงลดให้กินน้ำจนปอดลอยจึงหายอยาก บางทีจนอาเจียรน้ำออกมาจึงจะหายอยาก
ถ้าจะแก้เอารากกะถินพิมานมาต้มกินหาย ถ้าไม่ฟังให้เอาเปลือกมูลอ้าย ๑ เชือกเขาวัล ๑ ดีงูต้น ๑ รากทรงบาดาน ๑ รากพิลังกาสา ๑ ต้มกินหาย ถ้าไม่ฟังให้ต้มเบญจธาตุบันจบให้กินหายแล
ไส้ใหญ่ เมื่อพิการแตกไซร้ คือกินอาหารผิดสำแลง ให้ปวดท้องให้ขัดอก บางทีให้ลงให้อาเจียร คือลมกรรมัชวาตพัดให้เสมหะเปนดานกลับเข้าไปในท้องในทรวงอก แล้วให้ตัดอาหารย่อมว่าไส้ตีบ
ถ้าจะแก้ให้เอาฝอยลมเผา พริก ๗ ขิง ๗ กะเทียม ๗ หอม ๗ บดละลายน้ำร้อนให้กินหายแล ถ้าไม่ฟังให้เอา ว่านไข่เน่า ๑ สหัศคุณเทศ ๑ เปล้าน้อย ๑ พริก ๑ ขิง ๑ หอม ๑ ทำเปนจุณละลายน้ำร้อนกินหาย ถ้าไม่ฟังให้เอาแก่นมะหาด ๑ พริก ๑ ขิง ๑ หอม ๑ กะเทียม ๑ สิ่งละ ๗ ต้มกินหายแล
ไส้น้อย เมื่อพิการแตกให้วิงเวียนหน้าตา จะลุกยืนขึ้นให้หาวให้เรอ ให้จุกให้เสียดให้เจ็บหลังเจ็บสะเอว ให้เสมหะขึ้นฅอให้ร้อนฅอร้อนท้องน้อยเปนลมโฮก ให้ตกโลหิตให้ตกหนอง
ถ้าจะแก้ เอาเหล้าแดง ๑ รากตะไคร้น้ำ ๑ หีบลม ๑ รากมะเดื่อปล้อง ๑ มะเดื่อชุมพร ๑ ต้มกินหายแล
ขนานหนึ่งเอา ดีปลี ๑ เปล้าน้อย ๑ สะค้าน ๑ รากจิงจ้อหลวง ๑ พลูป่า ๑ ขิงแครง ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ ศิริยาทั้ง ๗ สิ่งนี้ทำเปนจุณ ละลายน้ำร้อนกินหายแล
ขนานหนึ่งเอา ใบพลวง ๑ รากอ้อยแดง ๑ รากกล้วยตีบ ๑ รากกล้วยหอม ๑ รากตาเสือ ๑ ต้มกินหายแล
ถ้าไม่ฟังเอา ใบผักหนอก ๑ รากก้างปลาแดง ๑ รากกำจาย ๑ รากป่านใบ ๑ ยอดมะม่วง ๗ ยอด พริก ๗ ขิง ๗ หอม ๗ กะเทียม ๗ เลือดแรด ๑ ทำเปนจุณบดปั้นเม็ดเท่าเมล็ดพริกไทย กินในเวลาเช้าๆ หายแล
อาหารใหม่เมื่อพิการแตกไซร้ ถ้าบริโภคอาหารเข้าไปอิ่มแล้วเมื่อใด ก็ทำให้ร้อนท้องนัก บางทีให้สอึก บางทีให้ขัดในอก แล้วให้จุกเสียดตามชายโครง ให้พะอืดให้พะอม คนสมมุติว่าไฟธาตุหย่อน จะเช่นอย่างสมมุติว่านั้นหาไม่ อาการอย่างนี้ย่อมเปนโทษเพราะเสพอาหารที่ไม่เคยบริโภคนั้น ประการหนึ่งคืออาหารดิบประการ ๑ ลมกุจฉิสยาวาต พัดไม่ตลอดก็ให้เปนต่างๆ บางทีให้ลงบางทีให้เปนพรรดึก แดกขึ้นแดกลงกินอาหารไม่ได้ ถ้าจะแก้ให้เอายอดไก่ไห้ ๗ ยอด พริก ๗ ขิง ๗ กะเทียม ๗ พริกเทศทั้ง ๕ เสมอภาคบดเปนกลอนกินหายแล
ถ้ายังไม่ฟังให้เอาผลเบญจกานี ๑ พริก ๗ ขิง ๗ รากเข้าสาน ๗ ราก ต้มกินหายแล
แล้วจึงให้ประกอบยาแก้ปถวีธาตุ เอาพริกส่วน ๑ ขิงแห้ง ๒ ส่วน สะค้าน ๓ ส่วน รากช้าพลู ๔ ส่วน รากเจตมูลเพลิง ๘ ส่วน เปลือกโมกหลวง หัวกกลังกา ขมิ้นอ้อย สิ่งละ ๑๐ ส่วน บระเพ็ด ๑๒ ส่วน ดีปลี ๑๖ ส่วน หัวแห้วหมู ๑ เปลือกไข่เน่า ๑ นอกบุนนาก ๑ สิ่งละ ๒๑ ส่วน ต้มกินหายแล
อาหารเก่าเมื่อพิการแตก คือทรางขะโมยกินลำไส้ ถ้าพ้นกำหนดทรางแล้ว คือริศดวงคูธนั้น
ถ้าจะแก้ให้เอา พระยาลำแพน ๑ รากหนามแดง ๑ ฝ้ายแดง ๑ เอาทั้งรากทั้งใบ รากหนามมูลแรด ๑ เมื่อต้มปรุงพริก ๗ ขิง ๗ ต้มกินหายแล
ถ้าไม่ฟังเอา รากผักเสี้ยน ๑ รากมะเกลือ ๑ รากมูลกาแดง ๑ ต้มปรุงพริก ๗ ขิง ๗ กะเทียม ๗ ต้มกินหายแล
ถ้าไม่ฟังเอา มะกรูดผล ๑ ต้มให้สุกระอุแล้วชั่งกับเบญจกูลให้น้ำหนักเท่ากัน จึงใส่การะบูร ๑ พริกไทย ๑ เกลือ ๑ สิ่งละเท่าๆ กันสิ่งละส่วน มหาหิงคุ์ ๑ กะเทียม ๑ สิ่งละ ๒ ส่วนประสมเข้าด้วยกัน บดให้กินมื้อละ ๑ สลึง กินเช้ากินเย็นบำรุงธาตุ แก้ริศดวงคูธหายแล
สมองสีสะ เมื่อพิการแตก ให้เจ็บในกระบานสีสะดังจะแตกให้ตามืดให้หูตึง ปากแลจมูกเฟด ขึ้นลิ้นกระด้าง เดิมเปนเพราะสันนิบาตลมปะกัง ถ้ายาใดแก้ไม่หาย
ถ้าจะแก้เอา เมล็ดพรรณผักกาด ๑ ผลผักชี ๑ หอมแดง ๑ กะเทียม ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ไพล ๑ ยอดกุ่มทั้ง ๒ ตำพอกกระหม่อม ๓ วันหาย ถ้าไม่ฟังให้กอกโลหิต ที่สีสะออกเสีย
แล้วจึงให้ประกอบยาใหม่ ใบฝาง ๑ ใบตุมกาต้น ๑ มูลแรด ๑ บดด้วยน้ำส้มมะงั่ว ห่อผ้าขาวอุ่นไฟให้ร้อนประคบลงที่เจ็บ ๓ วันหายแล
แล้วจึงให้กินยาภายใน เปลือกโลท ๑ หญ้ารังกา ๑ หัวแห้วหมู ๑ เปลือกโมกมัน ๑ ผลผักชีล้อม ๑ ผักชีลา ๑ เปลือกสมุลแว้ง ๑ การะบูร ๑ สิ่งละส่วน ขิง ๒ ส่วน รากช้าพลู ๓ ส่วน สะค้าน ๕ ส่วน ดีปลี ๖ ส่วน เจตมูลเพลิง ๗ ส่วน ยาทั้งนี้ทำเปนจุณไว้ ละลายน้ำผึ้งกินหายแล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โกฐสอ

กระไดลิง