กระไดลิง

ชื่ออื่น : กระไดลิง (ราชบุรี), กระไดวอก, มะลืมดำ (ภาคเหนือ), โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ), บันไดลิง, ลางลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen
ชื่อวงศ์ :
 
LEGUMINOSAECAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
·         ต้นกระไดลิง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง
·         ใบกระไดลิง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 1.5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย
·         ดอกกระไดลิง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 12-25 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง แยกกัน คล้ายรูปพัด ก้านกลีบดอกสั้น เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 2 อัน ขนาดเล็กกว่า รังไข่ก้านสั้น
·         ผลกระไดลิง เป็นฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ราก, เปลือก, ใบ, เมล็ด
สรรพคุณตามตำรายาไทย :
·         เถา แก้พิษทั้งปวง แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้พิษฝี แก้ไข้เชื่อมซึม แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน พิษโลหิต แก้กระษัย แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้พิษเลือดลม
·         ราก แก้พิษต่างๆ
·         เปลือก แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ
·         ใบ ขับเหงื่อ แก้ไข้ตัวร้อน

·         เมล็ด ถ่ายพยาธิ แก้ไข้เชื่อมซึม แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โกฐสอ