กระไดลิง
ชื่ออื่น : กระไดลิง (ราชบุรี) , กระไดวอก , มะลืมดำ (ภาคเหนือ) , โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ) , บันไดลิง , ลางลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia scandens L. var. horsfieldii ( Miq.) K. et S.S. Larsen ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : · ต้นกระไดลิง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง · ใบกระไดลิง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 1.5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย · ...